วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Home - by Yann Arthus-Bertrand

จากที่ได้ชมภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ทำให้ได้สัมผัส เรื่องราวที่น่าตื่นเต้นของโลกเราเองที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่ก่อนกำเนิดโลก จากสัตว์เซลเดียววิวัฒนาการมาจนปัจจุบัน กลายมาเปนมนุษย์ จากมนุษย์ได้ใช้มันสมองในการประดิษฐ์ คิดค้น ตั้งแต่สิ่งเล็กๆน้อยๆไปจนถึงตึกรามบ้านช่องและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ จนกลายเป็นชุมชน เป็นเมือง เป็นประเทศมาจนทุกวันนี้ และด้วยความฉลาดในการประดิษฐ์คิดค้นนั้นเอง ได้ทำให้เกิดเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ทั้งพลังธรรมชาติ และพลังงานจักรกล แต่ที่สำคัญคือการใช้ธรรมชาติของมนุษย์ ที่เกินขีดจำกัด หรือบางกลุ่มบางพวกใช้แบบไม่คำนึงถึงอนาคตว่า การที่ทำเกินกว่าเหตุโดยที่ไม่ได้สนใจนั้น จะทำให้เกิดอะไรในภายภาคหน้ากับธรรมชาติของเราเอง


วิธีการนำเสนอของภาพยนต์เรื่องนี้เป็นที่แปลกตาสำหรับผมเป็นอย่างมาก อย่างแรกเลยคือการดำเนินเรื่องราวด้วยภาพมุมสูง เกือบตลอดทั้งเรื่อง ทำให้ได้เห็นธรรมชาติ ต่างๆบนโลกของเราได้ในมุมกว้างจากด้านบน ซึ่งไม่มีทางที่คนธรรมดาอย่างเราๆจะมีโอกาสได้เห็นจริงๆ และด้วยภาพที่มีสีสันที่สดใสสะดุดตา ทำให้มันดูน่าติดตามมากขึ้นทันที ส่วนคำบรรยายนั้นโดยรวมแล้วทำให้เข้าใจในการดำเนินเรื่องได้ดีอยู่แล้ว แต่มันไม่ใช่แค่นั้น มันยังมีทั้งคำที่ทำให้คนดูสะกิดใจกับเรื่องราว ที่เป็นเรื่องจริงที่ บางคนอาจละเลยไปในการดำรงชีวิตปัจจุบัน อย่างเช่นการตัดไม้ทำลายป่า ใช้ของที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติจนเกิดการสะสมทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เป็นต้น


สิ่งที่ชอบที่สุดในภาพยนต์เรื่องนี้คือ การนำเสนอภาพที่น่าสนใจ ทั้งสีสัน และมุมมอง รวมทั้งเรื่องราวด้วย ทำให้มันดูน่าติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะแต่ละฉากมันทำให้นึกตลอดว่า ต่อไปจะเป็นอย่างไร ทำให้คิดได้ว่าการถ่ายในมุมกว้างนั้นทำให้เห็นในสิ่งที่ผู้กำกับเองอยากจะให้เห็นที่สุดคือ เรา หรือ มนุษย์ นั่นเองที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำลายโลกใบนี้เอง ตั้งแต่ต้นจนจบ...


ส่วนสิ่งที่ไม่ชอบคือ ผมเป็นคนที่ดูอะไร นิ่งๆเรื่อยๆ ไปได้ไม่นาน ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้ มันกินเวลานานพอสมควร ไม่มีพักเหมือนละคร จึงทำให้เกิดอาการ ง่วง...


สิ่งที่ผมได้รับจากภาพยนต์เรื่องนี้ อันดับแรกเลยคือ ได้ความรู้ทั้งเก่าและใหม่ เหมือนได้ทบทวนบทเรียนตั้งแต่เด็กๆ อีกทั้งยังได้ความรู้ใหม่ๆอีกหลายด้าน ทั้งเรื่องราวของธรรมชาติ ทั้งมุมมองการนำเสนอภาพยนต์ของผู้กำกับ และยังได้เรื่อง art direction ในบางส่วน ไม่มากก็น้อย

ข้อเสนอแนะ ภาพยนต์มีความยาวมากไป ถ้ามีเนื้อเรื่องสอดแทรกให้น่าตื่นเต้น ตกใจ มากกว่านี้อาจจะช่วยในเรื่องการทำให้คนดูติดตามได้จนจบ โดยไม่ง่วง - -"

Keyword

สัตว์ป่า
สิ่งก่อสร้าง
มนุษย์
เทคโนโลยี
พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานลม
พลังงานน้ำทะเล
ภัยพิบัต
ไฟ
พระเจ้าให้อะไรกับเรา?

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โครงการส่งเสริมการผลิตกระดาษสาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (สินค้าโอท็อป) ช่วยส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นและสร้างชุมชนเข้มแข็ง เพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าโอท็อปดำเนินการได้อย่างยั่งยืน ทั้งด้านธุรกิจและการจัดการสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ 2549 และ 2550 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เทศบาลตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของประเทศเยอรมัน (GTZ) และผู้ประกอบการ ดำเนินโครงการพัฒนาเกณฑ์การผลิตกระดาษสาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนายกระดับมาตรฐานการผลิต โดยใช้กระบวนการผลิตที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้เครื่องหมายการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นจุดเด่นในการส่งเสริมการขายแก่ผู้บริโภค โดยนำหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแนวใหม่ ที่เน้นการลดมลพิษ ณ แหล่งกำเนิด หรือเทคโนโลยีสะอาดมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต มีสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 50 ราย ปีงบประมาณ 2551 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจัดให้มีโครงการส่งเสริมการผลิตกระดาษสาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตกระดาษสาใช้กระบวนการผลิตที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องกว้างขวาง มีการออกแบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจัดให้มีเครือข่ายการดำเนินงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำงานร่วมกัน

ที่มา : ภาควิชาการไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.ctcmu.com/tgp/info_about.php
แนวความคิด : เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนายกระดับมาตรฐานการผลิต โดยใช้กระบวนการผลิตที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้เครื่องหมายการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วิธีการแก้ปัญหา : ใช้หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแนวใหม่ ที่เน้นการลดมลพิษ ณ แหล่งกำเนิด หรือเทคโนโลยีสะอาดมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต

ยลแฟชั่นผ้าไทย สวยทันสมัยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดแสดงนิทรรศการและการออกร้านจำหน่ายสินค้าในโครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ณ แกรนด์ฮอลล์ ชั้น 1 สยามดิสคัฟเวอรี โดยมีนางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ร่วมสังเกตการณ์
ในพิธีเปิดงาน ได้มีการแสดงแฟชั่นโชว์เสื้อผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลงานการออกแบบและตัดเย็บของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่เลือกใช้ผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่มาจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มีการจัดการวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ดี ใช้พลังงานและทรัพยากรในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้สารเคมี เน้นการใช้สีย้อมธรรมชาติ นำมาออกแบบให้เหมาะกับยุคสมัย
ภายในบริเวณงานมีการจัดแสดงนิทรรศการการผลิตกระดาษสา, สุรากลั่น และสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การแสดงผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตโดยตรง โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตัวจี (G) ซึ่งแสดงถึงความเป็นสินค้ามาจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ กรีนโปรดักชัน (Green Production) อาทิ เสื้อผ้าจากผ้าพื้นเมือง, ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมายที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ งานนิทรรศการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครู้จักผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าที่ได้รับตราสัญลักษณ์ตัว G ที่เป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพการผลิตที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อขยายตลาดสินค้าให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในประเทศ และเตรียมพร้อมที่จะก้าวสู่สากลในอนาคต
ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นเพราะมีส่วนช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยขณะนี้มีสินค้าที่ได้รับมาตรฐานตราสัญลักษณ์ตัว G แล้วกว่า 60 ราย จากที่เริ่มต้นโครงการเมื่อปี 2549 จนถึงปัจจุบัน

ที่มา : เวปไซต์ ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000062622

แนวความคิด : ใช้ผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่มาจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มีการจัดการวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ดี ใช้พลังงานและทรัพยากรในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการแก้ปัญหา : ลดการใช้สารเคมี เน้นการใช้สีย้อมธรรมชาติ นำมาออกแบบให้เหมาะกับยุคสมัย